mybest
เหล็กนำศูนย์ให้ทุกการเลือกเป็นสิ่งที่ดีที่สุด
mybest
เหล็กนำศูนย์ให้ทุกการเลือกเป็นสิ่งที่ดีที่สุด
  • 10 เหล็กนำศูนย์ ยี่ห้อไหนดี ปี 2025 พร้อมวิธีใช้งาน 1
  • 10 เหล็กนำศูนย์ ยี่ห้อไหนดี ปี 2025 พร้อมวิธีใช้งาน 2
  • 10 เหล็กนำศูนย์ ยี่ห้อไหนดี ปี 2025 พร้อมวิธีใช้งาน 3
  • 10 เหล็กนำศูนย์ ยี่ห้อไหนดี ปี 2025 พร้อมวิธีใช้งาน 4
  • 10 เหล็กนำศูนย์ ยี่ห้อไหนดี ปี 2025 พร้อมวิธีใช้งาน 5

10 เหล็กนำศูนย์ ยี่ห้อไหนดี ปี 2025 พร้อมวิธีใช้งาน

เหล็กนำศูนย์เป็นเครื่องมือช่างที่ใช้ในการสร้างจุดหลุมขนาดเล็กบนชิ้นงาน เพื่อใช้เป็นเครื่องหมายและหลุมสำหรับกดดอกสว่านให้เจาะลงไปในเนื้องานได้ง่าย โดยที่ไม่ทำให้ดอกสว่านลื่นไถลออกด้านข้าง แม้ว่าวัตถุประสงค์การใช้งานเหล็กนําศูนย์จะใช้สร้างหลุมขนาดเล็กบนพื้นผิว เพื่อให้สามารถกำหนดตำแหน่งในการเจาะรูได้อย่างแม่นยำ แต่อีกวัตถุประสงค์ในการใช้งานคือการสร้างบาดแผลบนพื้นผิวชิ้นงานที่มีความมันเงานั่นเอง


เหล็กนำศูนย์มีทั้งแบบตอกและแบบอัตโนมัติให้เลือกใช้ ในบทความนี้เราจึงมีวิธีการเลือกเหล็กนำศูนย์พร้อมคำแนะนำจากช่างไม้และช่างโลหะมืออาชีพมาแนะนำกัน ส่วนใครที่ยังตัดสินใจไม่ถูกและไม่มีเวลาในการออกไปเลือกซื้ออุปกรณ์ชิ้นนี้ด้วยตนเอง เราก็ได้รวบรวม 10 เหล็กนำศูนย์ คุณภาพดี จากช่องทางออนไลน์มาให้คุณได้เปรียบเทียบคุณสมบัติ โดยมีทั้งเหล็กนำศูนย์แบบตอกและแบบอัตโนมัติเลยครับ



อัปเดตล่าสุดเมื่อ 27/08/2024

Top 5 เหล็กนำศูนย์ ยอดนิยม

1

STANLEY

เหล็กนำศูนย์ รุ่น 16-227
เหล็กนำศูนย์ รุ่น 16-227

เหล็กเปลือยเคลือบกันสนิม ปลายคมแข็งแรง ตอกงานผิวลื่นได้ดี

2

UNIOR

เหล็กนำศูนย์ รุ่น 642/6
เหล็กนำศูนย์ รุ่น 642/6

แข็งแกร่ง ใช้งานได้ทุกพื้นผิว ปลายแหลมคม ตอบโจทย์งานหนัก

3

iRon Wood

เหล็กนำศูนย์
เหล็กนำศูนย์

ใช้งานง่าย ด้ามจับโลหะขนาดใหญ่ เซาะร่องกันลื่น จับได้กระชับมือ

4

Vastar

เหล็กนำศูนย์ ชุด 3 ชิ้น
เหล็กนำศูนย์ ชุด 3 ชิ้น

ปั๊มหมายเลขบอกขนาด หยิบใช้งานอย่างสะดวก ชุดเดียวสุดคุ้มค่า

5

SHINWA

เหล็กนำศูนย์ รุ่น 77317
เหล็กนำศูนย์ รุ่น 77317

โครงทองเหลืองชุบสีเงิน ปลายคมเรียว เจาะไม้ได้ดี มีด้ามจับ ABS

ฉัตรสุมาลย์ ภูแต้มนิล (ชัย)
ผู้เชี่ยวชาญ
ช่างไม้ / ช่างโลหะมืออาชีพ
ฉัตรสุมาลย์ ภูแต้มนิล (ชัย)

คุณชัยเป็นช่างไม้และช่างโลหะมืออาชีพอยู่ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยได้ศึกษาหาความรู้และเก็บเกี่ยวประสบการณ์เกี่ยวกับงานไม้ งานเชื่อม ตัด กลึงและงานโลหะมาเป็นระยะเวลามากกว่า 15 ปี จนปัจจุบันมีช่อง YouTube เป็นของตัวเองที่ชื่อว่า CHANA Craft ที่คอยให้ความรู้เกี่ยวกับการสร้างศิลปะด้วยงานไม้ไผ่ ซึ่งมีผู้ติดตามมากกว่า 100,000 คน และยังเป็นเจ้าของเพจ ชาน่า คราฟต์ Chana Craft ใน Facebook ที่มีผู้ติดตามมากกว่า 80,000 คน งานไม้ของคุณชัยเริ่มจากการทำเครื่องดนตรีอีสาน จนนำไปสู่การทำเฟอร์นิเจอร์ไม้ จากวันแรกที่ใช้เพียงมีดในการถากไม้ขึ้นรูป ใช้สิ่วในการเจาะไม้ ใช้เลื่อย ใช้เหล็กซี จนเปลี่ยนไปใช้เครื่องมือ Power Tools ทั้งเลื่อยวงเดือน สว่าน เครื่องเจียร เครื่องกลึง ทริมเมอร์ ฯลฯ ทำให้คุณชัยมีประสบการณ์โดยตรงในการใช้เครื่องมืองานไม้แทบทุกชนิด รวมถึงเทคนิคงานไม้ตั้งแต่การโค่นเพื่อแปรรูปไปจนถึงการขัดเงาถนอมสีไม้

ประวัติของ ฉัตรสุมาลย์ ภูแต้มนิล (ชัย)
…อ่านต่อ
กองบรรณาธิการ mybest
บรรณาธิการ
กองบรรณาธิการ mybest

มายเบสท์ เว็บไซต์แนะนำสินค้าที่มีผู้ใช้งานมากกว่า 4 ล้านคนต่อเดือน หัวใจของภารกิจของเราคือ ความมุ่งมั่นที่จะให้คำแนะนำที่น่าเชื่อถือได้ เราได้รับการสนับสนุนจากผู้เชี่ยวชาญในหมวดหมู่สินค้าที่หลากหลาย การเดินทางของเราเริ่มต้นด้วยวิสัยทัศน์ที่เรียบง่าย เพื่อสร้างแพลตฟอร์มที่ผู้บริโภคสามารถค้นหาคำแนะนำผลิตภัณฑ์ที่น่าเชื่อถือได้ และใช้งานได้จริง เราเข้าใจดีว่า การตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคมีความต้องการที่แตกต่างกัน นั่นเป็นเหตุผลที่เราทุ่มเทในการนำเสนอคำแนะนำที่ชัดเจน กระชับ มีการวิจัยมาเป็นอย่างดี และตรวจสอบความถูกต้องโดยผู้เชี่ยวชาญ ทีมงานของเราประกอบด้วยบรรณาธิการและผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในหมวดหมู่ต่าง ๆ เจาะลึกลงไปในผลิตภัณฑ์แต่ละประเภท นำเสนอข้อมูลเชิงลึก เราเชื่อในพลังของวิธีการเลือกสินค้าที่มีข้อมูลครบถ้วน เราเป็นมากกว่าเว็บไซต์ เราเป็นชุมชนของบุคคลที่มีความกระตือรือร้นซึ่งให้ความสำคัญกับคุณภาพในการค้นหาผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุด ซึ่งจะช่วยทำให้โลกของการช้อปปิ้งออนไลน์เป็นประสบการณ์ที่ง่ายและสนุกสนานยิ่งขึ้นสำหรับทุกคน

ประวัติของ กองบรรณาธิการ mybest
…อ่านต่อ
ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเฉพาะ "วิธีการเลือก" เท่านั้น สินค้าและบริการที่ปรากฏอยู่ในบทความไม่ได้ถูกเลือกโดยผู้เชี่ยวชาญ

สารบัญ

Why You Can Trust Us

มายเบสท์เป็นเว็บไซต์ที่มีการจัดทำฐานข้อมูลสินค้าที่มีการเพิ่มข้อมูลสินค้าเข้าไปมากกว่า 2,000 รายการในแต่ละเดือน ซึ่งในแต่ละบทความเราได้ใช้เวลาในการจัดทำเนื้อหาและทำการค้นคว้าข้อมูลมาอย่างละเอียด รวมทั้งสัมภาษณ์และตรวจสอบข้อมูลโดยผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้าน เพื่อนำความรู้และข้อมูลเชิงลึกทั้งหมดนี้มาส่งมอบเป็นบทความที่ผู้อ่านสามารถเชื่อถือได้

นโยบายกองบรรณาธิการ

วิธีการเลือกเหล็กนำศูนย์

คุณสมบัติหลักของเหล็กนำศูนย์ก็คือการสร้างหลุมหรือทำสัญลักษณ์บนชิ้นงาน หลายคนจึงนิยมเรียกกันว่า "เหล็กมาร์ก" ซึ่งเหล็กนำศูนย์บางยี่ห้อสามารถใช้ได้ทุกพื้นผิว ทั้งการตอกลงบนโลหะ พลาสติก คอนกรีต แต่ในบางยี่ห้อก็มีข้อจำกัดในเรื่องนี้ ซึ่งขึ้นอยู่กับวัสดุของเหล็กนำศูนย์นั่นเองครับ

1

เลือกเหล็กนำศูนย์ให้เหมาะสมกับการใช้งาน

เพื่อให้ง่ายต่อการกำหนดจุดตัด ขัด เจียร ได้อย่างถูกต้องแม่นยำ จำเป็นต้องเลือกเหล็กนำศูนย์ให้เหมาะสมกับการใช้งาน แล้วระหว่างเหล็กนำศูนย์แบบตอก กับเหล็กนำศูนย์แบบอัตโนมัติ แบบใดตอบโจทย์การทำงานของคุณที่สุดนั้น มาดูกันเลยครับ

เหล็กนำศูนย์แบบตอก

เหล็กนำศูนย์แบบตอก

เหล็กนําศูนย์แบบตอกจะมีลักษณะคล้ายแท่งดินสอ แต่โครงสร้างจากทำขึ้นจากเหล็ก บริเวณปลายคมทำจากเหล็กกล้า ทังสเตน หรือไทเทเนียม เพื่อให้มีความแข็งมากพอที่จะเจาะหรือสร้างรอยบนชิ้นงานได้ โดยที่ปลายคมของเหล็กนําศูนย์ไม่ทู่หรือบิดเบี้ยวผิดรูปไป ซึ่งในการใช้งานนั้น จะต้องใช้ค้อนตอกลงบนด้านท้ายเพื่อส่งแรงลงไปยังปลายคมให้ปักลงบนชิ้นงานก็เป็นอันใช้ได้


เหล็กนําศูนย์แบบตอกนี้เหมาะสำหรับการใช้บนชิ้นงานที่มีความเหนียวและแตกหักได้ยาก บริเวณพื้นผิวที่จะตอกหลุมหรือทำสัญลักษณ์ต้องมีความกว้างมากพอที่จะรองรับองศาค้อนที่ใช้ตอก ในด้านการใช้งานแล้ว เหล็กนำศูนย์ประเภทนี้สามารถใช้ในการตอกเพื่อสร้างแผลบนชิ้นงาน และยังใช้ในการขูดขีดเขียนสัญลักษณ์ลงบนพื้นผิวต่าง ๆ ได้อีกด้วยครับ

เหล็กนำศูนย์แบบอัตโนมัติ

เหล็กนำศูนย์แบบอัตโนมัติ

สำหรับการทำจุดหลุมบนชิ้นงานที่ต้องการความรวดเร็ว ต้องการตอกหลายจุด หรือมีพื้นที่หน้างานจำกัด การเลือกใช้เหล็กนำศูนย์แบบอัตโนมัติก็เป็นตัวเลือกที่ไม่ควรมองข้าม เหล็กนําศูนย์ประเภทนี้จะมีกลไกสปริงทดแรงและมีชิ้นส่วนตอกกระแทกจากภายใน ใช้งานโดยการออกแรงกดลงจุดที่ต้องการ แล้วสปริงทดแรงจากภายในจะผลักดันชิ้นส่วนตอกกระแทกให้พุ่งชนแกนเหล็กแหลมคมเพื่อสร้างหลุมขนาดเล็กบนผิวงาน


ปลายคมเหล็กนําศูนย์ประเภทนี้จะทำจากโลหะที่มีความแข็งเป็นพิเศษ จึงรองรับการทำงานบนพื้นผิวที่มีความแข็งได้หลายระดับ ซึ่งเหล็กนําศูนย์แบบอัตโนมัติจะใช้กับพื้นผิวชิ้นงานที่มีความเปราะได้ดีกว่าแบบตอกครับ

2

เลือกเหล็กนำศูนย์ให้เหมาะสมกับพื้นผิวที่ต้องการเจาะ

เลือกเหล็กนำศูนย์ให้เหมาะสมกับพื้นผิวที่ต้องการเจาะ

แม้เหล็กนำศูนย์ส่วนใหญ่จะออกแบบให้มีความแข็งแรงมากพอที่จะสร้างจุดหลุมขนาดเล็กบนพื้นผิวชิ้นงานชนิดต่าง ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นผิวไม้ ผิวเหล็ก หรือผิวคอนกรีต แต่ก็มีเหล็กนำศูนย์บางรุ่นที่ออกแบบมาเพื่อใช้ในงานไม้โดยเฉพาะ ดังนั้นปลายคมจึงไม่สามารถใช้ในการสร้างหลุมบนพื้นผิวเหล็กและคอนกรีตได้ เพราะปลายคมไม่แข็งแรงพอ แต่ถึงแม้ว่าจะใช้แทนกันได้ในบางครั้ง หากใช้บ่อยเข้าปลายเหล็กก็จะทู่ หัก บิดเบี้ยวจนใช้การไม่ได้ในที่สุด


ดังนั้น ในการเลือกซื้อเหล็กนำศูนย์ควรตรวจสอบให้แน่ชัด ว่าสินค้ารุ่นนั้นรองรับการใช้งานบนพื้นผิวใดบ้าง และไม่ควรใช้นอกเหนือจากสิ่งที่ผู้ผลิตกำหนดมา เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้ และลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับตัวผลิตภัณฑ์ครับ

3

ตรวจสอบขนาดดอกเจาะเหล็กนำศูนย์และความยาวด้ามจับ

ตรวจสอบขนาดดอกเจาะเหล็กนำศูนย์และความยาวด้ามจับ

เหล็กนําศูนย์ที่มีดอกเจาะนำขนาดยาวจะใช้งานได้สะดวกในพื้นที่ที่มีความลึก จึงเหมาะสำหรับงานช่างยนต์และกลุ่มงานแกะสลัก CNC แม้ว่าเหล็กนำศูนย์ประเภทนี้จะมีข้อได้เปรียบในการตอกลงบนชิ้นงานที่มีความลึกหรือต้องการการซอกซอน แต่ทว่าดอกเจาะของเหล็กนำศูนย์ที่มีความยาวมาก จะมีแรงสะท้อนหรือแรงสั่นพ้องของโลหะเมื่อใช้ในพื้นผิวหน้ากว้างที่มีความราบเรียบ ทำให้เกิดปัญหาเหล็กตอกกระดอนขึ้นจนจุดหลุมบนโลหะไม่ชัดเจน ในส่วนของความยาวด้ามจับนั้นควรเลือกตามขนาดที่สามารถจับได้ถนัดมือของแต่ละบุคคล เพื่อให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพครับ

วิธีการเลือกใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงได้หรือไม่ ?

10 เหล็กนำศูนย์ ยี่ห้อไหนดี พร้อมวิธีใช้งาน

การเลือกเหล็กนำศูนย์ไม่ได้ยากอย่างที่คิด ต่อไปเราจะพาคุณไปชม 10 เหล็กนำศูนย์ยี่ห้อยอดนิยม ที่การันตีจากผู้ใช้ว่าทนทาน ใช้งานได้หลากหลาย โดยมีทั้งแบบออโต้และแบบตอกให้เลือกใช้งาน
เรียงจากความนิยม

สินค้า

รูปภาพ

ราคาต่ำสุด

คะแนน

1

STANLEY

เหล็กนำศูนย์ รุ่น 16-227

STANLEY เหล็กนำศูนย์ รุ่น 16-227 1

เหล็กเปลือยเคลือบกันสนิม ปลายคมแข็งแรง ตอกงานผิวลื่นได้ดี

2

UNIOR

เหล็กนำศูนย์ รุ่น 642/6

UNIOR  เหล็กนำศูนย์ รุ่น 642/6 1

แข็งแกร่ง ใช้งานได้ทุกพื้นผิว ปลายแหลมคม ตอบโจทย์งานหนัก

3

iRon Wood

เหล็กนำศูนย์

iRon Wood เหล็กนำศูนย์ 1

ใช้งานง่าย ด้ามจับโลหะขนาดใหญ่ เซาะร่องกันลื่น จับได้กระชับมือ

4

Vastar

เหล็กนำศูนย์ ชุด 3 ชิ้น

Vastar  เหล็กนำศูนย์ ชุด 3 ชิ้น 1

ปั๊มหมายเลขบอกขนาด หยิบใช้งานอย่างสะดวก ชุดเดียวสุดคุ้มค่า

5

SHINWA

เหล็กนำศูนย์ รุ่น 77317

SHINWA เหล็กนำศูนย์ รุ่น 77317 1

โครงทองเหลืองชุบสีเงิน ปลายคมเรียว เจาะไม้ได้ดี มีด้ามจับ ABS

6

PB Swiss Tools

เหล็กนำศูนย์ รุ่น PB 710-2

PB Swiss Tools  เหล็กนำศูนย์ รุ่น PB 710-2 1

โดดเด่นด้วยดีไซน์ เรียบหรู ความแม่นยำสูง ทนทาน ท้ายไม่ย้วย

7

ASAHI

เหล็กนำศูนย์ รุ่น 1300

ASAHI เหล็กนำศูนย์ รุ่น 1300 1

มาร์กจุดได้อย่างแม่นยำ นำเข้าจากญี่ปุ่น ปลายตอกใหญ่ ใช้งานคุ้ม

8

FORCE

เหล็กนำศูนย์ รุ่น F131-6074185

FORCE  เหล็กนำศูนย์ รุ่น F131-6074185 1

ใช้งานได้ดีในที่แคบ ดีไซน์เพรียวยาว เซาะร่องตาข่ายจับได้ถนัดมือ

9

PUMPKIN

เหล็กนำศูนย์ รุ่น AUTO

PUMPKIN เหล็กนำศูนย์  รุ่น AUTO 1

ปรับระดับความแรงได้ กดชิ้นงานให้เป็นหลุมง่าย เพียงใช้แรงบีบ

10

BEC

เหล็กนำศูนย์แบบสปริง

BEC เหล็กนำศูนย์แบบสปริง 1

สวยล้ำไม่ซ้ำใคร ชิ้นเดียวใช้งาน 2 ด้าน ตอกก็ได้ขีดผิวชิ้นงานก็ดี

หากไม่พบผลิตภัณฑ์ที่กำลังมองหา สามารถส่งคำร้องขอเพิ่มในรายการได้
No.1

STANLEY
เหล็กนำศูนย์ รุ่น 16-227

เหล็กนำศูนย์ รุ่น 16-227 1
อ้างอิง:shopee.co.th
ราคาอ้างอิง
90 บาท
ราคาค่อนข้างต่ำ
ราคาอ้างอิง
90 บาท
ราคาค่อนข้างต่ำ

เหล็กเปลือยเคลือบกันสนิม ปลายคมแข็งแรง ตอกงานผิวลื่นได้ดี

เหล็กนำศูนย์แบบตอกของ STANLEY มีลักษณะเป็นเหล็กกล้าชิ้นเดียว ปลายคมชุบแข็ง รองรับการใช้งานได้กับทุกสภาพพื้นผิว ออกแบบมาให้มีลักษณะเป็นกรวยไล่ระดับ แต่บริเวณปลายคมมีมุมป้านเพื่อให้สามารถตอกนำศูนย์บนชิ้นงานที่มีความแข็งและเรียบลื่นนั่นเอง แต่มุมแบบนี้จะไม่ค่อยเหมาะกับการใช้ในงานช่างไม้ เพราะเหล็กนำศูนย์จะกินเนื้อไม้เป็นบริเวณกว้าง เนื่องจากรูตอกไม่แหลมคมเท่าที่ควร ตัวผลิตภัณฑ์แม้จะออกแบบให้มีลักษณะเป็นเหล็กเปลือยแต่เคลือบสีกันสนิมค่อนข้างหนาทีเดียว

การจัดอันดับสินค้าใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงได้หรือไม่ ?
No.2

UNIOR
เหล็กนำศูนย์ รุ่น 642/6

ราคาอ้างอิง
140 บาท
ราคาปานกลาง

แข็งแกร่ง ใช้งานได้ทุกพื้นผิว ปลายแหลมคม ตอบโจทย์งานหนัก

ถูกใจผู้ที่กำลังมองหาเหล็กนำศูนย์สำหรับใช้งานหนัก เพราะเหล็กนำศูนย์ของ UNIOR เป็นยี่ห้อที่ขึ้นชื่อเรื่องความแข็งแรงทนทานเป็นเลิศ ผ่านการชุบแข็งที่ปลายคมด้วยระบบ Induction Hardened ด้วยคุณสมบัติดังกล่าวจึงทำให้เหล็กนำศูนย์รุ่นนี้แข็งแกร่งมากพอที่จะใช้ตอกได้กับทุกพื้นผิว ปลายแหลมของเหล็กตอกมีลักษณะเป็นกรวยแต่แนวคมมีมุมแหลมมากทำให้สามารถใช้กับงานที่ต้องการรายละเอียดสูงได้ดี มีการทาสีหุ้มเหล็กในส่วนที่ต้องสัมผัสกับมือทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันสนิมและการกัดกร่อนจากคราบเหงื่อไคลนั่นเองครับ

No.3

iRon Wood
เหล็กนำศูนย์

ราคาอ้างอิง
40 บาท
ราคาต่ำ

ใช้งานง่าย ด้ามจับโลหะขนาดใหญ่ เซาะร่องกันลื่น จับได้กระชับมือ

นี่คือเหล็กนําศูนย์แบบอัตโนมัติ จาก Modern Tools มาพร้อมชุดสปริงทดแบบคู่ตัวผลิตภัณฑ์ทำจากโลหะ Cr-V ที่ให้ความแข็งที่ระดับ HRC58-60 จึงสามารถใช้ในการตอกนำศูนย์ได้บนพื้นผิวหลากหลายชนิดและยังใช้ในการขูดขีดพื้นผิวชิ้นงานให้เป็นรอยได้อีกด้วย เหล็กนำศูนย์รุ่นนี้มีการเคลือบโลหะป้องกันสนิม มีด้ามจับในส่วนท้ายขนาดใหญ่รองรับอุ้งมือ ถ่ายเทน้ำหนักได้ดี ไม่ทำให้เจ็บมือเวลากด นอกจากนี้ตัวด้ามจับช่วงกลางที่เป็นโลหะก็มีการเซาะร่องแนวทแยงทำให้จับได้ไม่ลื่นหลุดขณะใช้งานครับ

No.4

Vastar
เหล็กนำศูนย์ ชุด 3 ชิ้น

ราคาอ้างอิง
99 บาท
ราคาปานกลาง

ปั๊มหมายเลขบอกขนาด หยิบใช้งานอย่างสะดวก ชุดเดียวสุดคุ้มค่า

เหล็กนําศูนย์แบบตอกรุ่นนี้จัดจำหน่ายแบบเป็นชุด ใน 1 ชุดมี 3 ชิ้น ซึ่งแต่ละชิ้นมีขนาดปลายคมหัวตอกที่ต่างกัน โดยทุกชิ้นผลิตจากเหล็กกล้าคาร์บอนสูง บริเวณด้ามจับผ่านกรรมวิธีการรมดำป้องกันการเกิดสนิม มีลักษณะการเซาะร่องเป็นเกล็ดแบบนูนสูง ทำให้จับได้ถนัดมือไม่ลื่นหลุด แต่ด้ามของเหล็กนําศูนย์ลักษณะนี้มักจะเกิดแรงสั่นสะเทือน จนทำให้เหล็กกระดอนในขณะการใช้งานได้ จึงควรเว้นจังหวะในการตอกซ้ำ ส่วนท้ายด้ามของแต่ละชิ้นยังมีการตอกตัวเลขบอกขนาดเอาไว้ทำให้สามารถหยิบใช้งานง่ายยิ่งขึ้นครับ

No.5

SHINWA
เหล็กนำศูนย์ รุ่น 77317

เหล็กนำศูนย์ รุ่น 77317 1
อ้างอิง:shopee.co.th
ราคาอ้างอิง
416 บาท
ราคาสูง
ราคาอ้างอิง
416 บาท
ราคาสูง

โครงทองเหลืองชุบสีเงิน ปลายคมเรียว เจาะไม้ได้ดี มีด้ามจับ ABS

ความพิเศษของเหล็กนําศูนย์รของ SHINWA คือ โครงสร้างทำจากทองเหลืองเซาะร่อง ชุบโลหะสีเงิน ซึ่งทองเหลืองมีความสามารถในการรับแรงกระแทกได้ดีกว่าเหล็กกล้าทั่วไป ส่วนปลายคมของเหล็กนำศูนย์ทำจากเหล็ก Super Hard ที่เป็นเหล็กกล้าผสมพิเศษ รองรับการเจาะวัสดุโลหะที่ยังไม่ผ่านการชุบแข็งทุกประเภท ปลายกรวยมีขนาดเล็กสามารถใช้กับงานไม้ได้ ด้ามจับทำจากพลาสติก ABS สามารถหมุนปรับทดแรงตอกของชุดสปริงภายในเพื่อลดหรือเพิ่มแรงตอกให้เหมาะสมกับพื้นผิวชิ้นงานได้ง่ายขึ้น

No.6

PB Swiss Tools
เหล็กนำศูนย์ รุ่น PB 710-2

ราคาอ้างอิง
335 บาท
ราคาค่อนข้างสูง

โดดเด่นด้วยดีไซน์ เรียบหรู ความแม่นยำสูง ทนทาน ท้ายไม่ย้วย

PB Swiss Tools เหล็กนำศูนย์ที่โดดเด่นด้วยดีไซน์ สวยงาม เรียบหรูจากสวิตเซอร์แลนด์ ขึ้นรูปด้วยโลหะปลอดสนิม ปลายทรงกรวยแหลมคมมีความแข็งแรงสูง เมื่อตอกลงบนชิ้นงานแล้วทำให้หลุมที่ได้มีความคม สามารถวางดอกสว่านหรืออุปกรณ์ขัดเจาะได้ง่ายและเที่ยงตรงตามตำแหน่งที่ต้องการ บริเวณส่วนท้ายของเหล็กนําศูนย์ที่ต้องรองรับน้ำหนักค้อนตอกทุบลงนั้นมีการลบขอบให้เป็นทรงกรวยสูง ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันการแตก ย้วย และหัวดอกบานจากการใช้งานหนัก

No.7

ASAHI
เหล็กนำศูนย์ รุ่น 1300

ราคาอ้างอิง
319 บาท
ราคาค่อนข้างสูง

มาร์กจุดได้อย่างแม่นยำ นำเข้าจากญี่ปุ่น ปลายตอกใหญ่ ใช้งานคุ้ม

สำหรับผู้ที่ชื่นชอบในอุปกรณ์งานช่างจากญี่ปุ่น ต้องถูกใจเหล็กนำศูนย์แบบอัตโนมัติของ ASAHI เพราะรุ่นนี้สามารถปรับระดับความแรงในการตอกได้ ซึ่งข้อดีคือ ช่วยให้เหล็กตอกส่งแรงกระแทกได้อย่างเหมาะสม ตอกงานได้แม่นยำ ไม่สร้างความเสียหายต่อชิ้นงาน เหล็กนำศูนย์ผลิตมาจากเหล็กกล้าคุณภาพสูง เหล็กตอกรมดำเป็นเอกลักษณ์ ตอกงานง่ายเพียงกดน้ำหนักลงบนส่วนด้าม การันตีจากผู้ใช้งานว่าปลายตอกใหญ่ ให้น้ำหนักในการตอกได้ดี ใช้งานคุ้มค่าไม่กระดอนครับ

No.8

FORCE
เหล็กนำศูนย์ รุ่น F131-6074185

ราคาอ้างอิง
142 บาท
ราคาปานกลาง

ใช้งานได้ดีในที่แคบ ดีไซน์เพรียวยาว เซาะร่องตาข่ายจับได้ถนัดมือ

ตอบโจทย์การกำหนดจุดในที่แคบและลึก ด้วยเหล็กนำศูนย์ที่มีความเพรียวและยาวถึง 18.5 เซนติเมตร จาก FORCE เหล็กนำศูนย์รุ่นนี้ไม่มีการเคลือบกันสนิมหรือหุ้มด้าม แต่ใช้การเซาะร่องตาข่ายแนวทะแยงเพื่อให้สามารถวางมือจับได้ถนัดมือ ปลายหัวเจาะค่อนข้างคม จึงสามารถใช้ในการขีดสร้างร่องรอยบนโลหะได้ ในด้านการบำรุงรักษาหลังการใช้งานควรมีการชโลมน้ำมันป้องกันสนิม แล้วห่อหุ้มด้วยกระดาษไขอย่างมิดชิดเพื่อป้องกันความชื้น เพราะเหล็กกล้าคาร์บอนสูงรุ่นนี้สามารถเกิดสนิมได้ง่ายนั่นเองครับ

No.9

PUMPKIN
เหล็กนำศูนย์ รุ่น AUTO

ราคาอ้างอิง
111 บาท
ราคาปานกลาง

ปรับระดับความแรงได้ กดชิ้นงานให้เป็นหลุมง่าย เพียงใช้แรงบีบ

ตอบโจทย์ทุกงานสร้างหลุมบนผิวชิ้นงาน ด้วยเหล็กนําศูนย์แบบอัตโนมัติ ของ PUMKIN ซึ่งรุ่นนี้มีความแข็งของปลามคมสูงถึง 55 HRC ปลายคมออกแบบให้มีลักษณะเรียวแหลม ในขณะที่ส่วนปลายเจาะชิ้นงานจะเป็นกรวยมุมป้าน ทำให้สามารถสร้างจุดหลุมบนชิ้นงานที่มีความแข็งได้ดี ทั้งนี้มีระบบกลไกภายในสามารถปรับระดับความแรงได้ด้วยการหมุนด้ามจับทางด้านท้ายของอุปกรณ์ เหล็กนําศูนย์ชิ้นนี้ด้ามจับส่วนท้ายมีลักษณะเป็นทรงกลม ซึ่งมีการปาดเบี่ยงด้านข้าง ทำให้สามารถบิดปรับระดับได้ง่ายขึ้นครับ

No.10

BEC
เหล็กนำศูนย์แบบสปริง

เหล็กนำศูนย์แบบสปริง 1
อ้างอิง:shopee.co.th
ราคาอ้างอิง
68 บาท
ราคาค่อนข้างต่ำ
ราคาอ้างอิง
68 บาท
ราคาค่อนข้างต่ำ

สวยล้ำไม่ซ้ำใคร ชิ้นเดียวใช้งาน 2 ด้าน ตอกก็ได้ขีดผิวชิ้นงานก็ดี

พกเหล็กนำศูนย์ของ BEC แค่ชิ้นเดียว แต่ใช้งานตอกจุดได้ถึง 2 หัว รุ่นนี้มาพร้อมระบบกลไกสปริงจากภายนอก ใช้งานด้วยการดึงสปริงให้ยืดออกแล้วปล่อย สปริงจะดึงรั้งหัวตอกนำศูนย์ ทำให้หัวตอกของอีกฝั่งกระแทกลงบนชิ้นงาน ปลายทั้งสองด้านมีความแหลมคม จึงใช้ได้ทั้งการตอกจุดและขีดผิวชิ้นงาน แม้ว่าในด้านการใช้งานจะไม่ซับซ้อน แต่การที่ติดตั้งสปริงไว้ภายนอกลักษณะนี้จะบำรุงรักษาได้ยาก เพราะอาจมีเศษฝุ่นเข้าไปเกาะสะสมอยู่ภายในสปริงทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลงครับ

วิธีการใช้งานเหล็กนำศูนย์

วิธีการใช้งานเหล็กนำศูนย์
อ้างอิง:pixabay.com

ไม่ว่าจะเป็นเหล็กนำศูนย์แบบตอกหรือแบบอัตโนมัติ ในการใช้งานก็ต้องกำหนดจุดบนพื้นผิวชิ้นงานให้แน่ชัดเป็นอันดับแรก จากนั้นสามารถทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ได้เลยครับ


  • ทำความสะอาดผิวชิ้นงานบริเวณที่จะตอกนําศูนย์ เพื่อป้องกันการลื่นไถลจนกระดอนผิดไปจากจุดที่ต้องการตอก
  • เมื่อทำความสะอาดพื้นผิวและกำหนดจุดที่แน่นอนได้แล้ว ให้นำส่วนปลายคมของเหล็กนำศูนย์กดลงไปให้แน่นชิดกับชิ้นงาน
  • หากเป็นเหล็กนำศูนย์แบบอัตโนมัติสามารถใช้การกดลงไปเพื่อให้สปริงทดแรงตอกได้เลย 
  • แต่ถ้าหากเป็นแบบตอก ก็ใช้ค้อนตอกบริเวณส่วนท้ายของเหล็กนำศูนย์ แต่ไม่ควรตอกแรงเกินไป เพราะอาจจะทำให้ชิ้นงานบุบจนเสียรูปได้ ควรตอกเพียงให้เป็นรอยก็พอครับ

บทส่งท้าย

การเลือกเหล็กนำศูนย์เพื่อการใช้งานทุกประเภท ควรเลือกหัวเจาะที่มีความแข็งแรง ทนทานต่อการกระแทก ไม่บิดเบี้ยวเมื่อเจอพื้นผิวที่มีความแข็ง ตรวจสอบโครงสร้างและด้ามจับที่เหมาะสมกับสรีระ สามารถจับได้อย่างถนัดมือและไม่ลื่นหลุดขณะใช้งาน หากเป็นเหล็กนำศูนย์แบบตอก และต้องมีโครงสร้างส่วนกลางที่หนาพอจะลดแรงกระแทกจากการตอกมายังมือของผู้ใช้งาน นอกจากนี้ ควรเลือกรุ่นที่มีการเคลือบป้องกันสนิมหรือทำมาจากโลหะปลอดสนิม เพื่อให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานนั่นเองครับ

TOP 5 เหล็กนำศูนย์ แนะนำ

อันดับที่ 1: STANLEYเหล็กนำศูนย์ รุ่น 16-227

อันดับที่ 2: UNIOR เหล็กนำศูนย์ รุ่น 642/6

อันดับที่ 3: iRon Woodเหล็กนำศูนย์

อันดับที่ 4: Vastar เหล็กนำศูนย์ ชุด 3 ชิ้น

อันดับที่ 5: SHINWAเหล็กนำศูนย์ รุ่น 77317

คลิกที่นี่สำหรับการจัดอันดับ
คำบรรยายสินค้าแต่ละรายการอ้างอิงจากเนื้อหาที่แสดงในเว็บไซต์ผู้ผลิต แบรนด์ และเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ

ยอดนิยม
อันดับยอดนิยมที่เกี่ยวข้องกับ เหล็กนำศูนย์

โฮลซอเจาะปูน

10 ผลิตภัณฑ์

ค้นหาตามหมวดหมู่

mybest

ให้เราเป็นตัวช่วยในทุกการเลือกเพื่อให้ทุกคนได้รับสิ่งที่ดีที่สุด
พร้อมคำแนะนำในการเลือกสินค้าจากผู้เชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ

Copyright mybest All Rights Reserved.