ตาปลาเป็นปัญหาผิวหนังที่เกิดจากการที่ผิวหนังได้รับการเสียดสีซ้ำ ๆ เป็นเวลานานจนเกิดเป็นตุ่มแข็ง มักเกิดบริเวณข้อเท้า ข้างนิ้วเท้าและฝ่าเท้า ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด ได้แก่ ตาปลาชนิดแข็งและชนิดอ่อน แม้จะไม่ใช่ปัญหารุนแรงมากนัก แต่หากเกิดการเสียดสีและกดทับก็อาจเกิดการอักเสบได้ โดยในปัจจุบันนอกจากการทำเลเซอร์หรือผ่าตัดแล้ว ยังสามารถใช้ยาทาตาปลาเพื่อทำให้ตุ่มแข็งหลุดออกได้อีกด้วย
การใช้ยาทาเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ง่ายและสะดวก แต่อาจต้องใช้เวลาเพื่อให้เกิดการลอกหลุดออก บทความนี้เราจึงจะมาแชร์วิธีการเลือกยาทาตาปลาเบื้องต้นให้เหมาะสมกับอาการ ประกอบกับคำแนะนำจากเภสัชกร และยังมี ยาทาตาปลา จากแบรนด์ที่ได้มาตรฐานทั้งรูปแบบยาทาและรูปแบบแผ่นแปะมาเป็นแนวทางในการเลือกซื้อให้อีกด้วย
Top 5 ยาทาตาปลา
ภก.ณัฐดนัย สุวัฑฒิต จบการศึกษาจากคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกำลังศึกษาต่อ MBA คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปัจจุบันทำงานด้านการตลาด ตำแหน่ง Product Manager (ผู้จัดการผลิตภัณฑ์) บริษัทยาแห่งหนึ่ง และเป็นเจ้าของร้านยา (หุ้นส่วน) และปฎิบัติงานในร้านยาทั้งทั่วไปและร้านยาเชน (Part-time) คุณบอสเคยทำงานทั้งด้านการขาย การตลาด และเภสัชกรร้านยา รวมทั้งงานอาสาปฏิบัติงานที่ Hospitel ช่วงสถานการณ์ COVID-19 ด้วย และนอกเหนือจากงานในสายอาชีพแล้ว คุณบอสยังมีประสบการณ์ด้านงานเขียนบทความลงในเพจและเว็บไซต์ร้านยาขณะที่ทำงานร้านยาอีกด้วย
คุณออมเป็นนักเขียนที่มีประสบการณ์เขียนบทความด้านสุขภาพ อาหารเสริม และอุปกรณ์เพื่อสุขภาพมากว่า 4 ปี โดยทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการ แพทย์ และเภสัชกร ทำให้มีโอกาสศึกษาข้อมูลเฉพาะทางเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพอย่างลึกซึ้ง นอกจากความสนใจในเรื่องสุขภาพแล้ว คุณออมยังหลงใหลในวัฒนธรรมญี่ปุ่น ทั้งอาหาร การใช้ชีวิต และภาษาญี่ปุ่น โดยเคยเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนที่มหาวิทยาลัยในจังหวัดมิเอะเป็นเวลา 1 ปี ประสบการณ์นี้ทำให้เธอได้เรียนรู้แนวคิดด้านสุขภาพของชาวญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็นการกินอาหารที่สมดุล วัฒนธรรมการดื่มชา หรือการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ทำให้คุณออมสนุกกับการแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับโภชนาการและการดูแลสุขภาพในชีวิตประจำวัน โดยเชื่อว่าการเลือกกินที่ดีและการปรับไลฟ์สไตล์ให้เหมาะสมเป็นสิ่งที่ช่วยให้สุขภาพดีขึ้นอย่างยั่งยืน คุณออมจึงมุ่งมั่นที่จะถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อ่านสามารถนำไปปรับใช้ได้จริง
ทางบริษัทมายเบสท์ไม่มีการสนับสนุนการซื้อ-ขายยาผ่านช่องทางออนไลน์ซึ่งผิดต่อกฏหมายประเทศไทย ผลิตภัณฑ์ที่แนะนำในบทความจะเป็นเพียงจุดเชื่อมต่อให้ผู้อ่านได้เข้าไปปรึกษาเภสัชกรหรือแพทย์ก่อนจะรับยาเพียงเท่านั้น เพื่อความปลอดภัยสูงสุดของสุขภาพผู้อ่าน
ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเฉพาะ "วิธีการเลือก" เท่านั้น สินค้าและบริการที่ปรากฏอยู่ในบทความไม่ได้ถูกเลือกโดยผู้เชี่ยวชาญ
เราไม่รับประกันผลลัพธ์หรือคุณสมบัติตามที่อธิบายไว้ในคู่มือการซื้อของเรา โปรดตรวจสอบรายละเอียดของแต่ละผลิตภัณฑ์ตามฉลากสินค้าของผู้จัดจำหน่าย
มายเบสท์เป็นเว็บไซต์ที่มีการจัดทำฐานข้อมูลสินค้าที่มีการเพิ่มข้อมูลสินค้าเข้าไปมากกว่า 2,000 รายการในแต่ละเดือน ซึ่งในแต่ละบทความเราได้ใช้เวลาในการจัดทำเนื้อหาและทำการค้นคว้าข้อมูลมาอย่างละเอียด รวมทั้งสัมภาษณ์และตรวจสอบข้อมูลโดยผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้าน เพื่อนำความรู้และข้อมูลเชิงลึกทั้งหมดนี้มาส่งมอบเป็นบทความที่ผู้อ่านสามารถเชื่อถือได้
ตาปลาคือผิวหนังที่หนาตัวผิดปกติจนเป็นก้อนแข็ง ซึ่งเกิดจากการเสียดสีบ่อยครั้งซ้ำ ๆ บริเวณเดิม ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค จึงไม่ใช่โรคติดต่อ
ตาปลาสามารถเกิดได้ทุกบริเวณของเท้า ไม่ว่าจะเป็นผิวหนังที่เท้าหรือบริเวณนิ้ว ในบุคคลทั่วไปตาปลาจะไม่ก่อให้เกิดอันตรายหรือความเจ็บปวด แต่อาจก่อให้เกิดความรำคาญหรือส่งผลต่อความสวยความงามหากเกิดในตำแหน่งที่มองเห็นได้ง่าย ยกเว้นการเกิดตาปลาบริเวณใกล้กระดูกหรือบริเวณที่ต้องลงน้ำหนักก็อาจก่อให้เกิดความเจ็บปวดได้บ้างจากการกดทับ แต่ก็ไม่เป็นอันตราย
บุคคลที่มีความเสี่ยงการเกิดตาปลาโดยส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมและการปฏิบัติตัว นอกจากนี้ยังมีบางส่วนที่มีความเสี่ยงจากความผิดปกติของร่างกาย ยกตัวอย่างเช่น
・ผู้ที่สวมใส่รองเท้าที่ไม่พอดี ทั้งการใส่รองเท้าที่หลวมเกินไป และแน่นเกินไป
・ผู้ที่สวมใส่รองเท้าส้นสูง รองเท้าหัวแหลม ที่มีการบีบรัดเท้า
・ผู้ที่ต้องเล่นกีฬาที่มีแรงกดทับหรือเสียดสีบริเวณเท้ามาก
・การใส่รองเท้าโดยไม่สวมถุงเท้า
・ผู้มีนิ้วเท้าเอียง
・ผิวแห้ง หรือมีไขมันน้อย ทำให้เกิดการเสียดสีได้ง่าย
ตาปลาจะมี 2 แบบ คือตาปลาชนิดอ่อนที่มีขนาดเล็ก มักพบบริเวณง่ามนิ้วเท้า ไม่มีแกนกลางที่แข็งตัวจนเบียดผิวหนังโดยรอบ ส่วนตาปลาชนิดแข็งมักมีขนาดใหญ่กว่า เกิดบริเวณผิวหนังของเท้าที่เกิดการเสียดสี โดยจะมีแกนกลางที่แข็ง ผิวหนังบริเวณโดยรอบอาจนูนและเป็นขุย อาจทำให้เกิดความรู้สึกเจ็บปวดได้มากกว่า ซึ่งตาปลาทั้ง 2 ชนิดจะมีการรักษาและการใช้ยาที่ไม่ต่างกัน
การรักษาตาปลาสำหรับบุคคลทั่วไปนั้น รักษาด้วยการใช้ยาทาภายนอกก็เพียงพอ แต่ควรทำร่วมกับการปรับพฤติกรรม ลดปัจจัยเสี่ยงเพื่อลดการเกิดตาปลาซ้ำ แต่หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงพฤติกรรมบางอย่างได้ สามารถเลือกใช้ตัวช่วยเพิ่มเติม เช่น แผ่นโฟมรองเท้า การใส่ถุงเท้า หรือเลือกรองเท้าที่รองรับดี ไม่แน่นหรือหลวมเกินไป เป็นต้น
ในส่วนของผู้ที่เป็นโรคเบาหวานหรือโรคที่มีความบกพร่องเกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน ควรพบแพทย์เพื่อทำการรักษาตาปลา ไม่ควรรักษาเองโดยเด็ดขาด เนื่องจากอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน หรือการติดเชื้อเพิ่มเติมได้
กรณีผู้ที่ต้องการตัดตาปลาออกก็สามารถทำได้ทั้งการตัดหนังออกหรือการเลเซอร์ แต่จะต้องเข้ารับหัตถการกับแพทย์เท่านั้น ไม่ควรทำด้วยตัวเองเด็ดขาดเพราะจะทำให้ผิวหนังเกิดการติดเชื้อได้ และสิ่งที่สำคัญคือจะต้องเคร่งครัดในการดูแลแผลหลังทำด้วย
การรักษาตาปลาแบบใช้ยาทาจำเป็นจำต้องพิจารณารูปแบบของตัวยา รวมถึงตรวจสอบส่วนผสม เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยจะมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
ผลิตภัณฑ์รักษาตาปลาในปัจจุบันมีทั้งในรูปแบบยาทาและแผ่นแปะที่ช่วยให้สามารถใช้งานได้สะดวกขึ้น โดยส่วนใหญ่มักจะมีส่วนผสมของตัวยาที่มีฤทธิ์ละลายเคราติน เพื่อช่วยทำให้ผิวหนังที่หนาตัวบางลง ซึ่งตัวยาหลัก ได้แก่ สารกลุ่มกรดซาลิไซลิก (Salicylic Acid) ที่เป็นสารผลัดเซลล์ผิว ช่วยให้ตาปลามีขนาดเล็ก บางลงและหลุดลอกออก รวมทั้งใช้ง่าย ปลอดภัย และราคาถูก โดยสูตรยารักษาตาปลาทั่วไปที่วางจำหน่ายนั้นจะมีส่วนผสมของกรดซาลิไซลิก 20 - 25% (20 - 25 g/100 ml)
ทั้งนี้ การรักษาตาปลาชนิดอ่อนและชนิดแข็งมีแนวทางการรักษาและการใช้ยาที่ไม่แตกต่างกัน แต่เนื่องจากตาปลาชนิดแข็งมีผิวหนังที่หนาตัวมากกว่าและมีขนาดใหญ่กว่า จึงอาจต้องใช้ระยะเวลาการรักษาหรือทายายาวนานกว่าตาปลาชนิดอ่อนนั่นเอง
ยารักษาตาปลาบางยี่ห้ออาจมีส่วนผสมอื่น ๆ ที่ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น ทำให้ผิวหนังอ่อนนุ่มขึ้น ซึ่งแต่ละยี่ห้ออาจมีส่วนผสมหรือความเข้มข้นแตกต่างกัน ส่วนผสมที่ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นในยาทาตาปลา ยกตัวอย่างเช่น
・กรดแลคติก เป็น AHA ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิว ขจัดผิวที่แห้งเสีย โดยกระตุ้นการผลัดเซลล์ผิวใหม่ และมีฤทธิ์ฆ่าเชื้ออ่อน ๆ
・ยูเรีย เป็นส่วนผสมในยารักษาโรคผิวหนังอย่างหนึ่ง ซึ่งมีส่วนช่วยให้ผิวหนังที่ตายแล้วหลุดลอกออกมาได้ดีขึ้น พร้อมทั้งช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวที่แห้งแข็งมีความอ่อนนุ่มขึ้น
ส่วนผสมที่ช่วยให้ผิวหนังอ่อนนุ่มลงถือว่าจำเป็นอย่างยิ่งในการรักษาตาปลา เพราะหลังจากผลัดเซลล์ผิวแข็ง ๆ ให้หลุดลอกแล้ว จำเป็นต้องทำให้ผิวนุ่มขึ้น ไม่เช่นผิวจะสร้างใหม่ไม่ได้ โดยส่วนใหญ่แล้วยาทาตาปลาจะมีส่วนผสมเหล่านี้มาให้อยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องทาเพิ่มเอง แต่จะเป็นสารตัวใดนั้นแล้วแต่สูตรของแต่ละบริษัท
ตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 แล้ว ไม่ว่าจะใช้งานรูปแบบยาทาหรือแผ่นแปะควรซื้อจากร้านขายยาที่มีเภสัชกรให้คำแนะนำหรือรับการจ่ายยาจากแพทย์เท่านั้น ควรหลีกเลี่ยงการซื้อผ่านช่องทางออนไลน์
ยารักษาตาปลาในปัจจุบันแบ่งได้ออกเป็น 2 รูปแบบหลัก ๆ ได้แก่ รูปแบบยาทาและรูปแบบแผ่นแปะ ซึ่งมีประสิทธิภาพไม่แตกต่างกัน แต่อาจมีความแตกต่างในด้านความสะดวกในการใช้งาน ดังนี้
・รูปแบบยาทา มีทั้งรูปแบบน้ำและแบบเจล ซึ่งมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากัน แต่รูปแบบเจลจะใช้งานได้ง่ายกว่า เนื่องจากสามารถทาได้ง่าย ไหลไปบริเวณอื่นได้น้อย แต่มีราคาสูงกว่าแบบน้ำ สำหรับวิธีการใช้งานนั้น ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบน้ำหรือเจล ควรทาปิโตรเลียมเจลลี่ (เช่น Vaseline) รอบส่วนที่เป็นตาปลาก่อน เพื่อป้องกันยากัดกร่อนผิวหนังบริเวณอื่น
・รูปแบบแผ่นแปะ เป็นรูปแบบที่ใช้งานง่าย โดยติดแผ่นแปะลงไปบริเวณที่เป็นตาปลาได้ทันที แต่มีราคาแพง และอาจไม่เหมาะกับทุกบริเวณ เช่น บริเวณง่ามนิ้ว (เนื่องจากแผ่นแปะอาจหลุดได้ง่าย) หรือตาปลาที่มีขนาดใหญ่
ทางบริษัทมายเบสท์ไม่มีการสนับสนุนการซื้อ-ขายยาผ่านช่องทางออนไลน์ซึ่งผิดต่อกฏหมายประเทศไทย ผลิตภัณฑ์ที่แนะนำในบทความจะเป็นเพียงจุดเชื่อมต่อให้ผู้อ่านได้เข้าไปปรึกษาเภสัชกรหรือแพทย์ก่อนจะรับยาเพียงเท่านั้น เพื่อความปลอดภัยสูงสุดของสุขภาพผู้อ่าน
เราไม่รับประกันผลลัพธ์หรือคุณสมบัติตามที่อธิบายไว้ในคู่มือการซื้อของเรา โปรดตรวจสอบรายละเอียดของแต่ละผลิตภัณฑ์ตามฉลากสินค้าของผู้จัดจำหน่าย
สินค้า | รูปภาพ | ราคาต่ำสุด | คะแนน | รายละเอียด | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
รูปแบบ | ความเข้มข้นของ Salicylic Acid | ส่วนผสมอื่น ๆ เพิ่มเติม | ปริมาณ | เลขทะเบียนยา | ต้องมีใบสั่งยาจากแพทย์หรือเภสัชกร | |||||
1 | CON CON Solution Salicylic Acid | ![]() | รักษาตาปลาและหูด ช่วยทำให้ผิวหนังที่แข็งนั้นอ่อนตัวลง | น้ำ | 25% | Liquefied phenol | 15 มิลลิลิตร | 2A 243/33 | ||
2 | Almirall ยาทาตาปลา Collomak | ![]() | เปลี่ยนผิวหนังที่หยาบกระด้างให้อ่อนนุ่ม กัดกร่อนทั้งตาปลาและหูด | น้ำ | 20% | Lactic acid, Polidocanol | 10 มิลลิลิตร | 2C 96/49 | ||
3 | Scholl Corn Removal Plasters | ![]() | พลาสเตอร์แผ่นแปะ สำหรับกำจัดหูด หรือตาปลา | แผ่นแปะ | 40% | - | 6 แผ่น | 1C 136/57 | ||
4 | South Moon ยาทาตาปลา South Moon Corn Removal Plaster | ![]() | พลาสเตอร์แผ่นแปะตาปลา กาวแน่นติดไม่หลุด พร้อมบำรุงผิว | แผ่นแปะ | - | - | 12 แผ่น | - |
CON CON ยาน้ำสำหรับรักษาตาปลา, หูด หรือปัญหาผิวหนังด้าน ในขวดประกอบไปด้วยตัวยาสำคัญ ได้แก่ Salicylic Acid ตัวยาทำหน้าที่ทำให้ผิวหนังบริเวณดังกล่าวค่อย ๆ นิ่มตัวลง และออกฤทธิ์ผลัดเซลล์ผิวออก มีผลให้หูดหรือตาปลาหลุดลอกออก สำหรับยาน้ำตัวนี้เป็นยาใช้ภายนอกเท่านั้น ควรระมัดระวังไม่ให้โดนผิวหนังส่วนอื่น ตา หู จมูก หรือปาก รวมถึงควรทาวาสลีนปิโตรเลียมเพื่อป้องกันตัวยากัดโดนเนื้อดีบริเวณอื่น สำหรับปริมาณความถี่การใช้ยาที่แนะนำเบื้องต้นคือวันละ 2 - 3 ครั้งหรือตามที่แพทย์หรือเภสัชกรสั่ง
รูปแบบ | น้ำ |
---|---|
ความเข้มข้นของ Salicylic Acid | 25% |
ส่วนผสมอื่น ๆ เพิ่มเติม | Liquefied phenol |
ปริมาณ | 15 มิลลิลิตร |
เลขทะเบียนยา | 2A 243/33 |
ต้องมีใบสั่งยาจากแพทย์หรือเภสัชกร |
สำหรับคนที่ประสบปัญหาตาปลาหรือหูดที่ฝังลึก ควรจะมองหายาทาตาปลาที่มีส่วนผสมของกรด Salicylic Acid ในสัดส่วนที่เหมาะสม เช่นเดียวกับยาทาตาปลายี่ห้อนี้ที่มีกรด Salicylic 2 กรัมต่อ 10 กรัม และยังมีส่วนผสมของกรดแลคติก ที่ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิว ขจัดผิวที่แห้งเสียโดยการกระตุ้นการผลัดเซลล์ผิวใหม่ มีลักษณะเป็นของเหลวใส เมื่อทาลงบริเวณที่เป็นตาปลาจะเปลี่ยนเป็นฟิล์มสีขาวเคลือบบริเวณตาปลาไว้ และจะค่อย ๆ กัดกร่อนตาปลาออกไป ทั้งนี้ ก่อนใช้งานควรทาวาสลีนหรือโลชั่นรอบบริเวณที่เป็นตาปลา เพื่อป้องกันการระคายเคืองผิว
รูปแบบ | น้ำ |
---|---|
ความเข้มข้นของ Salicylic Acid | 20% |
ส่วนผสมอื่น ๆ เพิ่มเติม | Lactic acid, Polidocanol |
ปริมาณ | 10 มิลลิลิตร |
เลขทะเบียนยา | 2C 96/49 |
ต้องมีใบสั่งยาจากแพทย์หรือเภสัชกร |
Scholl Corn Removal Plasters พลาสเตอร์ที่มีส่วนผสมของ Salicylic Acid ซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน ๆ มีคุณสมบัติในการช่วยกำจัดผิวหนังที่มีหนา แข็ง หรือติดเชื้อออก ยกตัวอย่างเช่น หูดที่ผิวหนัง หรือตาปลาที่เท้า สำหรับการใช้กับตาปลาสามารถแปะลงไปตรง ๆ ได้เลย ทว่าสำหรับการใช้งานกับหูด หากเป็นหูดทั่วไปที่ไม่ได้อักเสบหรือมีแผล สามารถใช้งานได้ แผ่นแปะมีความนุ่ม ใช้งานได้แม้มีผิวแพ้ง่ายเพราะตัวพลาสเตอร์เป็นกาวชนิด Hypoallergenic Adhesive โปร่ง ระบายอากาศได้ดี ช่วยลดอาการแพ้ระคายเคืองเพิ่มเติม
รูปแบบ | แผ่นแปะ |
---|---|
ความเข้มข้นของ Salicylic Acid | 40% |
ส่วนผสมอื่น ๆ เพิ่มเติม | - |
ปริมาณ | 6 แผ่น |
เลขทะเบียนยา | 1C 136/57 |
ต้องมีใบสั่งยาจากแพทย์หรือเภสัชกร |
ยาทาตาปลาโดยส่วนใหญ่จะมีส่วนผสมของ Salicylic Acid เป็นองค์ประกอบหลัก ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นกรดเมื่อใช้ไปแล้วอาจจะทำให้ผิวหนังบริเวณที่เป็นตาปลานั้นแห้งหรือลอกได้ ดังนั้นยาทาตาปลาในรูปแบบแผ่นแปะพลาสเตอร์ยี่ห้อนี้จะมีส่วนผสมอื่นเพิ่มเติมจากพืชสมุนไพรธรรมชาติที่จะทำให้ผิวหนังแข็ง ๆ รอบตาปลานั้นอ่อนนุ่มลงด้วย โดยกาวของพลาสเตอร์นั้นก็ช่วยให้คุณแปะลงบริเวณที่เป็นตาปลาได้แน่นไม่หลุดลอก
รูปแบบ | แผ่นแปะ |
---|---|
ความเข้มข้นของ Salicylic Acid | - |
ส่วนผสมอื่น ๆ เพิ่มเติม | - |
ปริมาณ | 12 แผ่น |
เลขทะเบียนยา | - |
ต้องมีใบสั่งยาจากแพทย์หรือเภสัชกร |
การรักษาตาปลาวิธีอื่น ๆ สำหรับผู้ที่เป็นตาปลาซ้ำบริเวณเดิมบ่อยครั้งแม้จะปรับพฤติกรรมแล้ว อาจเกิดจากการเป็นตาปลาเรื้อรังเป็นระยะเวลายาวนาน หรือความผิดปกติของร่างกาย เช่น นิ้วเท้าเบียดหรือมีกระดูกบางส่วนโปนผิดปกติทำให้เกิดการเสียดสีมาก ซึ่งควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาเพิ่มเติม ดังนี้
・การผ่าตัด เพื่อนำผิวหนังที่หนาตัวออก
・การทำเลเซอร์
・การแก้ไขความผิดปกติของร่างกาย
ทั้งนี้ วิธีการเหล่านี้ควรรับการรักษาและทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อป้องกันการเกิดการติดเชื้อและโรคแทรกซ้อน รวมทั้งผู้ป่วยโรคเบาหวาน ควรปรึกษาแพทย์ในทุกกรณี
ยาทาตาปลานั้นมักจะมีส่วนประกอบของกรดในอัตราส่วนที่มาก จึงมีฤทธิ์ในการกัดกร่อน ดังนั้นหากคุณใช้ยาทาตาปลาแล้วพบว่าไม่สามารถทำให้ตาปลาหลุดลอกออกมาได้ ก็ควรจะหยุดใช้ยาทาตาปลาดังกล่าวทันที เนื่องจากการใช้ยาทาตาปลาในบริเวณผิวหนังเป็นเวลานาน ๆ อาจจะทำให้ผิวหนังโดยรอบนั้นหลุดลอก อีกทั้งยังทำให้ผิวหนังมีความบอบบางเสี่ยงต่อการระคายเคืองและการติดเชื้ออักเสบได้ จากนั้นก็ควรจะพบแพทย์ผิวหนังผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการรักษาด้วยวิธีการที่เหมาะสมกับลักษณะตาปลาของคุณต่อไป
อันดับที่ 1: CON CON|Solution Salicylic Acid
อันดับที่ 2: Almirall|ยาทาตาปลา Collomak
อันดับที่ 3: Scholl|Corn Removal Plasters
อันดับที่ 4: South Moon|ยาทาตาปลา South Moon Corn Removal Plaster
คลิกที่นี่สำหรับการจัดอันดับคำบรรยายสินค้าแต่ละรายการอ้างอิงจากเนื้อหาที่แสดงในเว็บไซต์ผู้ผลิต แบรนด์ และเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ
เครื่องดื่ม
วัสดุก่อสร้าง, เครื่องมือและอุปกรณ์ช่าง
สวนและอุปกรณ์ในสวน
ความงาม, ของใช้ส่วนตัว
โน้ตบุ๊ก, PC, อุปกรณ์ไอที
ของใช้ในบ้าน, อุปกรณ์ในบ้าน
เครื่องใช้ไฟฟ้า
กล้อง
เครื่องสำอาง, สกินแคร์
สุขภาพ
อาหาร
เครื่องใช้ในครัว
แฟชั่น
รองเท้า
นาฬิกา, เครื่องประดับ
แม่และเด็ก
เฟอร์นิเจอร์, อุปกรณ์ตกแต่งบ้าน
งานอดิเรก
กิจกรรมกลางแจ้ง
DIY, เครื่องเขียน, อุปกรณ์สำนักงาน
กีฬา
สัตว์เลี้ยง
หนังสือ
เกม
รถยนต์, รถจักรยานยนต์, อุปกรณ์เสริม
ของขวัญ, ของฝาก
ท่องเที่ยว
สมาร์ทโฟน, แท็บเล็ต, อุปกรณ์เสริม
เครือข่ายมือถือ
การลงทุน
เครดิตการ์ด, สินเชื่อ, ประกัน
ดนตรี, เครื่องเสียง
แอปพลิเคชัน, โปรแกรม
บริการ